เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
เรื่องการที่ถึงความบริสุทธิ์เพียงเปลือก

16. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ฯลฯ
17. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ฯลฯ
18. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ฯลฯ
19. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ถือตัวจัด ฯลฯ
20. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกอยู่ในอำนาจ
แห่งความปรารถนาชั่ว ฯลฯ
21. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่มีความเห็นผิด ไม่ประกอบด้วย
อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
22. บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ไม่ยึดมั่นทิฏฐิของตน ไม่ถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ง่าย ข้อที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นผู้ไม่ยึดมั่นทิฏฐิ
ของตน ไม่ถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ง่าย เขาชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้
นิโครธ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นดังว่ามานี้ การกีดกันบาปด้วย
ตบะ เป็นลัทธิที่บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นดังว่ามานี้ การกีดกันบาปด้วยตบะ เป็นลัทธิ
ที่บริสุทธิ์แน่นอน ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์ เป็นลัทธิที่ถึงยอดและถึงแก่น”
“นิโครธ การกีดกันบาปด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หาเป็นลัทธิที่ถึงยอด
และถึงแก่นไม่ ที่แท้ เป็นลัทธิที่ถึงเพียงสะเก็ดเท่านั้น”

เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงเปลือก

[70] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การกีดกันบาปด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เป็นลัทธิที่ถึงยอดและถึงแก่น ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงให้
ข้าพระองค์ถึงยอดและถึงแก่นแห่งการกีดกันบาปด้วยตบะเถิด”
“นิโครธ บุคคลผู้บำเพ็ญตบะในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยสังวร 4 ประการ
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้สำรวมด้วยสังวร 4 ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้บำเพ็ญตบะในโลกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :47 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [2. อุทุมพริกสูตร]
เรื่องการที่ถึงความบริสุทธิ์เพียงเปลือก

1. ไม่ทำชีวิตให้ตกล่วงไป ไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำชีวิตให้ตกล่วงไป เมื่อผู้อื่น
ทำชีวิตให้ตกล่วงไป ก็ไม่ดีใจ
2. ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
มิได้ให้ เมื่อผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ก็ไม่ดีใจ
3. ไม่พูดเท็จ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นพูดเท็จ เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ ก็ไม่ดีใจ
4. ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพกามคุณ เมื่อผู้อื่นเสพกามคุณ
ก็ไม่ดีใจ
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้สำรวมด้วยสังวร 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล
การที่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ จะเป็นผู้สำรวมด้วยสังวร 4 ประการได้ ก็เพราะ
เขามีสิ่งที่กำลังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ โดยความเป็นผู้บำเพ็ญตบะ เขารักษาศีลให้ยิ่ง
ไม่กลับมาเป็นคฤหัสถ์ เขาพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เขากลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เขาละอภิชฌา
(ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ในโลก1 มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้าย คือ พยาบาท(ความคิดร้าย) มีจิตไม่พยาบาท
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้าย คือ พยาบาท
ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติ-
สัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้ ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา2

เชิงอรรถ :
1 โลก แปลว่าสภาพที่ต้องแตกสลาย ในที่นี้หมายถึงอุปาทานขันธ์ 5 ประการ คือ ความยึดติด รูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณว่ามีตัวตนและเป็นของตน อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. 217/190)
2 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/198/309

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :48 }